วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

ความรู้ที่ได้รับ


ผลงานกิจกรรมวันนี้

1. ฉีกปะกระดาษ

ใช้มือฉีกกระดาษเป็นชิ้นเล็ก ๆ ทากาวปะลงบนกระดาษที่วาดเป็นภาพไว้ตกแต่งให้สวยงาม

ตามจินตนาการ



2. ตัดปะกระดาษ

ใช้กรรไกรตัดกระดาษเป็นชิ้นเล็ก ๆ ทากาวปะลงบนกระดาษที่วาดเป็นภาพไว้ตกแต่งให้สวยงาม

ตามจินตนาการ



3. ตัดกระดาษโปสเตอร์สี  2 หน้ากว้าง 1 นิ้ว ยาว 5 นิ้ว จำนวน 30 ชิ้น ม้วนเป็นวงกลมทากาวติด

เข้าด้วยกันเอากระดาษแผ่นถัดไปมาร้อยเข้าในวงแรกแล้วม้วนเป็นวงทากาวติด



4. ม้วนกระดาษเส้น

ตัดกระดาษโปสเตอร์สี 2 หน้ากว้าง ครั้งนิ้วเป็นเส้นยาว 5 นิ้ว ม้วนเป็นวงกลม ทากาวติดเข้าด้วยกัน

เอามาทากาวติดลงบนกระดาษ



5. เจาะกระดาษ

ตัดกระดาษเป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามต้องการ เอาที่เจาะกระดาษเจาะให้เป็นรูตามที่ต้องการ



6. พับกระดาษ

พับกระดาษในลักษณะง่าย ๆ เช่น พับครึ่ง พับมุม แล้วนำมาติดลงบนกระดาษ



7. พับพัด 

พับกระดาษสี การดาษนิตยสารขนาดต่าง ๆ พับจากด้านสั้นของกระดาษให้พับขึ้นพับลงจนหมด

กระดาษแล้วทำเป็นพัดหรือนนำมาต่อเติมเป็นภาพตามจินตนาการ



8. พับรูปแบบต่าง ๆ

พับกระดาษโปสเตอร์ กระดาษนิตยสาร หรือกระดาษ A4 เป็นสิ่งต่าง ๆตามจินตนาการ

9 ขยำกระดาษ

ฉีกกระดาษแก้วหรือฉีกกระดาษโปสเตอร์สีหน้าเดียวเป็นแผ่นเล็ก ๆ ขยำเป็นก้อนกลม ๆ นำมา

ทากาวปะติดลงบนกระดาษเป็นภาพตามจินตนาการ



10. สานกระดาษ

ตัดกระดาษโปสเตอร์สีหรือกระดาษนิตยสารเป็นเส้น ๆ เอามาสานในภาพที่กรีดเป็นเส้นสานสลับ

ไปมาขึ้นลงจนเป็นลายสวยงาม 



11. พับกระดาษวาดต่อเติม

พับกระดาษเป็นรูปต่าง ๆ ตามจินตนาการปะติดลงบนกระดาษแล้ววาดต่อเติมตามจินตนาการ



12. ม้วนกระดาษเป็นลูกปัด

ตัดกระดาษโปสเตอร์หรือกระดาษนิตยสารเป็นเส้นขนาด 1 เซนติเมตร ยาว 10 เซนติเมตร 

ใช้ไม้หรือดินสอม้วนเป็นลูกกลม ๆ ทากาวติด นำมาร้อยต่อกันเป็นสร้อยได้



13. กระดาษสามมิติ

วาดภาพสิ่งต่าง ๆลงบนกระดาษเป็นเส้นตรง ส่วนที่เป็นรูปภาพให้วาดให้นูนขึ้นกว่าเส้นทั่วไป

ภาพที่ได้จะเป็นลักษณะสามมิติ



การนำไปใช้

- สามารถนำงานและเทคนิกศิลปะที่เกี่ยวกับกระดาษไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนเด็กปฐมวัย

ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น

การประเมิน

การประเมินอาจารย์ผู้สอน

แต่งกายสุภาพ มีความพร้อมในการสอน อธิบายการทำประดิษฐ์อย่างชัดเจน

การประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

ตั้งใจทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย  แต่งกายเรียบร้อย

การประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรม

บันทึกการเรียนรู้วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9 

ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมการปั้นลูกชุบ

วัตถุดิบ+อุปกรณ์

  1. ถั่วเขียว 450 กรัม

  2. น้ำตาลทราย 200 กรัม (ผสมถั่ว)

  3. น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ (ผสมวุ้น)

  4. น้ำกะทิ 400 กรัม

  5. วุ้นผง 3 ช้อนโต๊ะ

  6. น้ำเปล่า 3 ถ้วยต้วง (สำหรับทำวุ้น)

  7. สีผสมอาหาร

  8. จานสีและพู่กัน

  9. ไม้จิ้มฟันและโฟม



วิธีการทำถั่ว

   1. นำถั่วเขียวเลาะเปลือกมาทำความสะอาด และแช่นำ้ทิ้งไว้ประมาณ 2 ชม.

    จากนั้นจึงนำไปนึงให้สุก ใช้เวลาประมาณ 15 นาที

   2. เมื่อถั่วเขียวสุกดีแล้วนำไปปั่นกับน้ำตาลและกะทิจนส่วนผสมเข้ากันดี

   3. จากนั้นเทส่วนผสมลงในกะทะทองเหลือง และตั้งไฟอ่อน ๆ ค่อย ๆ กวนจนข้นและเหนียว

    ใช้เวลา 20-30 นาที  จึงปิดไฟหรือทิ้งไว้ให้เย็น (ต้องรอให้ถั่วแห้ง ถึงนำไปปั้นได้)

   4. ก่อนปั้นให้นวดอีกครั้งหนึ่งจนเข้ากันเป็นเนื้อเดียว แล้วปั้นเป็นรูปตามใจชอบ เมื่อปั้นเสร็จ

    ให้เสียบไม้จิ้มฟันพักไว้

   5. ผสมสีผสมอาหารตามต้องการ แล้วระบายลงบนถั่วปั้น




วิธีการทำวุ้น

  1. ทำน้ำวุ้นโดยผสมน้ำเปล่า+ผงวุ้น+น้ำตาล ลงในหม้อ ตั้งไฟร้อนปานกลางคนอย่างสม่ำเสมอ

       รอจนเดือด ช้อนฟองที่ลอยอยู่ข้างหน้าออก จึงรี่ไฟลง

   ** เมื่อทำวุ้นเสร็จแล้วจากนั้นให้นำถั่วมาชุบลงวุ้น 2-3 ครั้ง พักไว้ให้แห้ง แล้วนำมาจัดแต่งให้

        สวยงาม



การนำไปใช้

-  สามารถนำไปเป็นอาชีพเสริมในอนาคต

-  สามารถนำไปสอนเด็กปฐมวัยให้เกิดความภาคภูมิใจในผลงานในกิจกรรมเสริมประสบการณ์

-  สามารถนำไปให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้

การประเมิน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์มีอุปกรณ์ให้พร้อม และอธิบายวิธีการทำอย่างชัดเจน

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เพื่อนช่วยเหลือซึ่งกันและกันดี และร่วมกันทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน

ประเมินตนเอง

แต่งกายเรียบร้อย ตั้งทำกิจกรรมเพื่อให้ผลงานออกมาสวยงาม



บันทึกการเรียนรู้วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมศิลปะเกี่ยวกับการปั้น



1. กิจกรรมปั้นดินน้ำมันเป็นเรื่องราวลงในฟิวเจอร์บอร์ด



2. เปเปอร์มาเช่จากกระดาษทิชชู









                                                                        (ผลงาน)



3. สอนทำแป้งโดว์

ส่วนผสม

1. แป้งสาลีอเนกประสงค์ 1 ถ้วยตวง

2. เกลือ 1/4 ถ้วยตวง

3. น้ำอุ่น 1/4 ถ้วยตวง

4. น้ำมันพืช 1/2 ช้อนโต๊ะ

5. สีผสมอาหาร

6. ทัพพี

7. ฟิวเจอร์บอร์ด

วิธีทำแป้งโดว์

   1. นำแป้งอเนกประสงค์ เกลือป่น น้ำเปล่า น้ำมันพืช เทรวมกันในภาชนะที่จับถนัด

       จากนั้นกวนส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นน้ำเหลว ๆ 



   2.  นำภาชนะดังกล่าวไปตั้งไฟ โดยปรับไฟให้อ่อนที่สุด จากนั้นกวนส่วนผสมทั้งหมดไปเรื่อย ๆ 

        โดยไม่หยุดพัก ประมาณ 20 นาที


   3. เมื่อแป้งเริ่มมีความหนืดให้พลิกแป้งกลับด้าน และเกลี่ยแป้งให้โดนความร้อนอย่างทั่วถึง

       จนแป้งเริ่มจับเป็นก้อน



   4. เมื่อแป้งเปลี่ยนสีจากขางเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ เหมือนแป้งสุก ให้ตักพักไว้ เพื่อปล่อยให้ความร้อน

       ที่ระอุอยู่ในแป้ง ทำให้แป้งสุกขึ้นอีกเล็กน้อย ซึ่งขั้นตอนนี้อย่าให้แป้งถูกลม ไม่เช่นนั้น

       แป้งอาจจะแข็ง และแตกได้

   5. ลองนำแป้งมาปั้น ถ้าแป้งไม่ติดมือแสดงว่าได้ที่แล้ว

   6. เตรียมสีผสมอาหารประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ถ้าใช้สีผสมอาหารแบบแห้งให้ใส่น้ำลงไป 2-3 หยด

   7. นำแป้งมาจุ่มสีทีละก้อน แล้วทำการนวดสีเข้ากับแป้ง

4.  ปั้นดินน้ำมันลงในแผ่นซีดี  (กิจกรรมทำที่บ้าน)



การนำไปใช้

-  สามารถนำไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยในการทำศิลปะเกี่ยวกับการปั้นให้หลากหลาย

-  สามารถนำวิธีปั้นแป้งโดว์ไปทำได้

การประเมิน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมในการสอน มาสอนตรงเวลา 

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมไว้ให้

ประเมินตนเอง 

แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจทำกิจกรรม



บันทึกการเรียนรู้วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมศิลปะเกี่ยวกับวัสดุธรรมชาติ


1. พิมพ์ภาพจากพืช วัสดที่หาง่าย  วัสดุแกะสลัก ฟองน้ำ อวัยวะต่าง ๆ 

    1.1 พิมพ์ภาพจากพืช (งานกลุ่ม)


    1.2  พิมพ์ภาพจากวัสดุที่หาง่าย

  
     1.3  พิมพ์ภาพจากฟองน้ำ


     1.4  พิมพ์ภาพจากวัสดุแกะสลัก


2.  ศิลปะแบบสื่อผสม (งานกลุ่ม)



3. ศิลปะจากใบไม้ (งานกลุ่ม) 


การนำไปใช้

-  สามารถนำไปใช้ในงานศิลปะที่มีงบที่น้อย

-  สามารถนำไปจัดการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น

การประเมิน

การประเมินอาจารย์ผู้สอน

เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเหมาะสม อธิบายงานอย่างชัดเจน

การประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี

การประเมินตนเอง

แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจทำงาน

บันทึกการเรียนรู้วันพฤหัสบดี ที่ 21 เมษายน 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมวันนี้

1. เขียนแผนการจัดประสบการณ์ พร้อมเตรียมอุปกรณ์ (งานกลุ่ม)



2. สาธิตการสอนตามแผน



 การนำไปใช้

-  สามารถนำไปปฏิบัติในการสอบสอนให้ถูกต้อง

-  สามารถนำไปปรับประยุกต์ในการสอนจริง

การประเมิน

การประเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ให้คำแนะนำที่ละเอียดทุกขั้นตอนในวิธีการสอน

การประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

ให้ความร่วมมือดี

การประเมินตนเอง

ให้ความร่วมมือ ตั้งใจทำงาน



บันทึกการเรียนรู้วันจันทร์ ที่ 2 พฤษภาคม 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14 


******* จัดนิทรรศการศิลปะปฐมวัย + ปิดการเรียนการสอน ********


จัดเรียงผลงานให้เรียบร้อยสวยงาม






เดินชมนิทรรศการ



อาจารย์คุยส่งท้ายก่อนปิดคลอส


บรรยากาศถ่ายรูปรวม



วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

ความรู้ที่ได้


กิจกรรมวันนี้

1. งานประดิษฐ์จากถุงขนม 10 ชิ้น (งานคู่)








2. การจัดกิจกรรมกลุ่มเป็นฐาน

    2.1  ประดิษฐ์จากหลอดกับลูกโป่ง



           -  จึงให้ทำโมบายอย่างไรก็ได้โดยมีอุปกรณ์ให้ ดังนี้ เป็นกิจกรรมกลุ่ม

               หลอด , ลูกโป่ง , ไหมพรม , ขวดน้ำ



             - ลูกโป่งสื่ออารมณ์ เป็นกิจกรรมเดี่ยว

                มีอุปกรณ์คือ  ลูกโป่ง และปากกาเมจิก

    2.2   ประดิษฐ์จากเมล็ดพืช  มีดังนี้


           -  ข้อมือ

           -  รูปภาพ



           -  กรอบรูป  (งานกลุ่ม)


    2.3  งานประดิษฐ์จากมักกะโรนี
       
           -  สร้อยข้อมือ  



          -  พิซซ่าจากมักกะโรนี



         -  กรอบรูปจากมักกะโรนี



  2.4  โมบายจากวัสดุหลากหลาย (งานกลุ่ม)


ศิลปะจากรายการสอนศิลป์

วิธีการทำกิ้งก่า

           

รูปสำเร็จผลงานของตนเอง


การนำไปใช้ 

-  สามารถนำกิจกรรมต่างที่ทำวันนี้นำไปใช้ในการเรียนการสอนในอนาคต

   จากเศษวัสดุที่อยู่รอบตัว

การประเมิน

การประเมินอาจารย์ผู้สอน

การประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

การประเมินตนเอง